การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการพลังงานแสงอาทิตย์
การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ Feasibility Study คือการศึกษาวิเคราะห์และจัดทำเอกสารของโครงการฯ ประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ
ที่จำเป็นเพื่อเป็นการแสดงถึงเหตุผลที่จะสนับสนุนถึงความเหมาะสมของโครงการ
สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ให้ผลประโยชน์ตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุน เน้นเรื่องที่สำคัญที่ผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องจัดขึ้นเพื่อให้ได้โครงการที่ดี
มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้ข้อจำกัดในด้านงบประมาณ
เวลา และลักษณะของผลผลิตของโครงการ ที่ต้อง การโดยมีขอบข่ายการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
เช่น ในด้านเทคนิค ด้านการจัดการ ด้านการตลาด ด้านการเงิน ด้านเศรษฐกิจ
ด้านส้งคม การเมือง และด้านสภาพ แวดล้อมและสภาวะนิเวศน์ เป็นต้น
ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ ด้านเทคนิคและด้านการเงิน
•
การศึกษาด้านเทคนิค
Technical Study เป็นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ
เป็นในเชิงเทคนิคหรือวิชาความรู้ อันจำเป็นต่อการทำงานในแต่ละกิจกรรมให้สมบูรณ์
•
การศึกษาและวิเคราะห์การเงิน
Financial
Study ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะโครงการโดยแท้ที่จริงคือการลงทุน โดยโครงการต้องใช้งบประมาณหรือต้นทุน
ต้องมีแหล่งที่มาของงบประมาณ มีการจัดวิเคราะห์โครงการ การกำหนดแบบแผนที่เหมาะสม
และรวมทั้งการวิเคราะห์รายได้และผลประโยชน์
Pre-Feasibility Study การศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น
1. Project
Initiation การริเริ่มโครงการ
หาข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการริเริ่มโครงการเป็นขั้นตอนแรก, ข้อมูลโครงการขั้นพื้นฐานจะต้องเก็บรวบรวมเพื่อที่จะตัดสินใจว่า
เงื่อนไขที่คาดว่าจะมีความน่าสนใจพอที่จะริเริ่มต้นการพัฒนาโครงการและการที่จะทำให้มีความจำเป็นในการลงทุน
ขอบเขตของขั้นตอนต่อไปนี้ คือการระบุการลงทุนขั้นพื้นฐาน
และโอกาสของโครงการดังกล่าว
•
หาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตลาดโรงไฟฟ้าและโอกาสทางการตลาดที่เกี่ยวข้องด้านอื่นๆ
•
ขนาดกำลังการผลิตที่คาดว่าจะต้องการ
•
ระดับค่าใช้จ่ายรายได้
และความพร้อมของการเงิน
•
นโยบายระดับชาติปและระดับของความเสี่ยงทางการเมือง
•
ระดับความเข้มของรังสีแสงอาทิตย์
•
โครงสร้างของการดำเนินโครงการ ความเป็นไปได้และความพร้อมทั่วไปของหน่วยงานก่อสร้าง
2. Finance of Project Assessment Studies
การประเมินการจะลงทุนในการทำการศึกษาโครงการ ขั้นตอนนี้คือการหาคู่ค้า
และการประเมินการจะลงทุน ทำการศึกษาโครงการ ในชั้นตอนต่อไป
3. Site Ranking สำรวจหาพื้นตั้งโครงการเบื้องต้น
โดยการเก็บข้อมูลและลงพื้นที่จริง เพื่อประเมินศักยภาพ สภาพแวดล้อมโดยรอบพื้นที่
การพิจารณาและตัดสินใจในการหาพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสม
จะต้องพิจารณาถึงอย่างน้อยดังนี้
(1)
Irradiation Resource: ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของที่ตั้งโครงการ
โดยพิจารณาจากข้อมูล แผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ ศักยภาพความเข้มรังสีรวม
โดยจะต้องทำ เรื่อง Solar Resource Assessment พื้นที่ที่มีศักยภาพสูงของค่าความเข้มแสงเฉลี่ยตลอดทั้งปีต้องไม่ต่ากว่า
19-20MJ/ตารางเมตร-วัน หรือ 5.28 – 5.65
kWh ต่อวัน
(2)
Land Resources
1. Topography ลักษณะพื้นที่และภูมิประเทศเป็นที่ราบ ไม่ต้องถมหรือต้องปรับพื้นที่มากนัก
ไม่ต้องโค่นต้นไม้ขนาดใหญ่
2. Availability ความพร้อม เช่น สถานที่ตั้งต้องอยู่ในที่โลงแจ้งไม่มีร่มเงา
เพื่อให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้รับแสงอย่างเต็มที่ ไม่มีสิ่งกีดขวางแสงอาทิตย์ เช่น
ภูเขา ต้นไม้ใหญ่
3. Land cover & use สภาพพื้นดินเดิมเป็นอะไร และการใช้ประโยชน์จากที่ดิน
4. Risks ความเสี่ยง
เป็นพื้นที่ที่ไม่มีความขัดแย้งของการใช้ที่ดิน
การจะซื้อหรือเช่าหากเช่าต้องมีสัญญาเช่าระยะยาว หากเป็นที่ลาดควรลาดลงไปทางทิศใต้ไม่มีน้าท่วมขัง
ไม่เป็นที่น้ำไหลผ่าน ในฤดูน้ำหลากหรือหากเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง
ควรมีการปรับแต่งพื้นที่หรือติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ให้สูงพ้นระดับน้ำ
(3) Infrastructures
1. Grid Connected สายส่งว่างหรือไม่?
–
Access เส้นทางการก่อสร้างสายส่ง
ระยะห่างของสายส่ง
–
Capacity ปริมาณไฟฟ้าที่สายส่งรับได้
เพื่อลดปัญหาและอุปสรรคที่จะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ได้
–
Distance อยู่ใกล้กับระบบสายจำหน่ายมากที่สุด
เช่น ไม่เกิน 1 กิโลเมตร
เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินระบบสายส่งรวมทั้งเกิดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า
2. Water
–
Availability มีแหล่งน้ำสำหรับใช้สอย
3. Other Infrastructure สาธารณูปโภคอื่นๆ
–
Access roads
ถนนทางเข้า
–
Telecommunication ระบบการสื่อสาร
4. Miscellaneous
Information ข้อมูลอื่นๆ
–
Knowledge of previous projects & other
information from local staff and experts
Pre Financial Study การศึกษาการวิเคราะห์ทางด้านการเงินเบื้องต้น
การศึกษาการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินเบื้องต้น
มีขั้นตอนการศึกษาดังนี้
1. ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล
•
ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ
ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตยN และนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐในการสนับสนุนโครงการดังกล่าว
รวมถึงตรวจสอบประเมินราคาต้นทุนในการติดตั้งของโครงการดังกล่าว
•
สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ค้นคว้ามา
เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงและแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินสำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์
•
วางโครงเรื่องและกำหนดรูปแบบการศึกษาการวิเคราะห์ทางการเงินในโครงการดังกล่าว
2. แผนการดำเนินงาน
•
รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
เช่นค้นคว้าจากงานที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน
•
หาข้อมูลราคาเซลล์แสงอาทิตย์แต่ละชนิดพร้อมการติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาหาราคากลางเพื่อที่จะใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการคิดต้นทุนในโครงการ
•
คำนวณต้นทุนทั้งหมดที่ใช้ในโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้ง
•
วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินโดยอาคารแต่ละประเภทจะคำนวณการติดตั้งของแผงแต่ละชนิดว่าชนิดไหนมีความคุ้มค่าและเหมาะสมที่จะใช้แผงชนิดใด
•
ใช้โปรแกรม Excel
เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินในโครงการดังกล่าว
•
สรุปผลการศึกษาที่ได้
การวิเคราะห์ความคุุ้มทุนของโครงการ Analysis
of the cost effectiveness of the project.
การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของโครงการ พิจารณาจาก 4 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value – NPV)
ตัวชี้วัด NPV เป็นค่าแสดงถึงความสามารถในการทำกำไรของโครงการ
ณ อัตราคิดลดที่กำหนด ซึ่งถ้าหากค่า NPV > 0 แสดงว่า
โครงการมีความคุุ้มทุน
2. อัตราผลตอบแทนทางการเงิน (Internal
Rate of Return – IRR)
ตัวชีี้วัด FIRR เป็นค่าแสดงถึงอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของโครงการ
ซึ่งถ้าหาก FIRR > อัตราค่าเสียโอกาสของเงินทุน
แสดงว่าโครงการมีความ ความคุ้มทุน
4.
ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period - PB)
ระยะเวลาคืนทุน คือ ระยะเวลาที่ผลตอบ แทนสุทธิ
จากการดำเนินงานมีค่าเท่ากับค่าลงทุนของโดยส่วนใหญ่จะกำหนดให้มีระยะเวลาคืนทุนประมาณ
5 ปี
3. ความสามารถในการชำระหนี้ (Debt
Service Coverage Ratio - DSCR) เพื่อเป็นการประกันว่าผู้กู้จะสามารถจ่ายเงินคืนได้ตามสัญญา
โดย DSCR
= เงินรายได้/ภาระผ่อนชำระหนี้ ซึ่งถ้า DSCR > 1 แสดงว่า โครงการมีความสามารถในการชำระหนี้
แผนธุรกิจเพื่อการขอสินเชื่อธนาคาร Business
Plan for Loan Requested
แผนธุรกิจ เป็นยุทธศาสตร์หรือเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นรายเล็กหรือรายใหญ่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการขนาดเล็กซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของประเทศ
•
เนื่องจากแผนธุรกิจประกอบด้วยวิสัยทัศน์
(Vision)
ภารกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective)
เป้าหมาย (Goal) และแผนการดำเนินงาน
อันรวมถึงแผนการบริหารจัดการ แผนการตลาด และแผนการเงิน
เพื่อนำพากิจการให้ประสบผลสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
•
แผนธุรกิจที่ดีจึงต้องมีเนื้อหาที่ตรงประเด็นกับความต้องการของกิจการ
กระชับได้ใจความ เข้าใจง่าย เพื่อให้พนักงานในกิจการ หรือบุคคลภายนอกเข้าใจได้อย่างชัดเจน
ถึงวัตถุประสงค์ที่กิจการต้องการที่จะประสบผลสำเร็จในอนาคต
โดยในการจัดทำแผนธุรกิจจะทำให้ผู้ประกอบการได้ค้นพบกับโอกาส (Opportunity)
อุปสรรค (Threat) จุดเด่น (Strength) จุดด้อย (Weakness) ทำให้ผู้ประกอบการสามารถที่จะวางกลยุทธ์ธุรกิจได้อย่างเหมาะสม
ดังนั้น
แผนธุรกิจจึงเปรียบเสมือนเข็มทิศหรือแผนที่นำทางให้กิจการมุ่งสู่จุดหมายหรือเป้าหมายได้สำเร็จ
ปัจจุบันธนาคารต่างๆ ให้ความสำคัญกับแผนธุรกิจของผู้ประกอบการหรือผู้ขอกู้
ทั้งนี้เป็นเพราะธนาคารจะนำไปใช้เพื่อพิจารณาโครงการที่จะขอสินเชื่อกับธนาคารว่า
มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เหมาะสมหรือไม่
และธนาคารสามารถสนับสนุนสินเชื่อได้หรือไม่ เป็นประเภทสินเชื่อใด
และเป็นวงเงินสินเชื่อเท่าไร
พร้อมทั้งพิจารณาด้วยว่าโครงการสามารถชำระหนี้คืนธนาคารได้เมื่อใด
ควรมีเงื่อนไขและแผนการชำระหนี้คืนเป็นอย่างไร มีระยะเวลาเป็นเท่าใด เพื่อให้สอดคล้องกับประเภทธุรกิจ
ลักษณะการดำเนินงาน และความต้องการใช้เงินทุนที่แท้จริง
ประเด็นที่ธนาคารพิจารณาสินเชื่อจากแผนธุรกิจ
1. ความเป็นไปได้ของโครงการ
ธนาคารจะพิจารณาว่า
โครงการที่จะลงทุนนั้นสามารถจะประสบผลสำเร็จหรือบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้หรือไม่
สามารถทำได้จริงในสถานการณ์ปัจจุบันหรือในอนาคตอันใกล้นี้หรือไม่ อย่างไร
โดยต้องมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนและเหมาะสมรองรับไว้หรือไม่ อย่างไร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนการตลาด จะพิจารณาด้วยว่า
ตลาดมีปริมาณความต้องการหรือขนาดตลาด (Market Size) สามารถรองรับได้มากน้อยเพียงใด
มีสภาพการแข่งขันรุนแรงเพียงใด อันส่งผลกระทบโดยตรงต่อยอดขายของกิจการ
ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องต่อความสามารถในการชำระหนี้คืนธนาคาร (Capacity) ของผู้ประกอบการ
2. มูลค่าการลงทุนทั้งหมด
ธนาคารจะพิจารณาว่า มูลค่าการลงทุนดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่
กับประเภทธุรกิจและรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ
โดยพิจารณาจากขนาดของกิจการในปัจจุบันและที่คาดว่าจะเติบโตขึ้นอนาคต
พร้อมทั้งพิจารณาเงินทุน (Capital) ของเจ้าของกิจการ หรือสัดส่วนการลงทุนระหว่างผู้ประกอบการและธนาคาร
3. มีความยืดหยุ่นหรือจัดทำแผนสำรอง
หากมีสภาพแวดล้อม (Condition) หรือปัจจัยภายนอกทั้งที่ดีและไม่ดีที่นอกเหนือการควบคุมของผู้ประกอบการเข้ามากระทบ
กิจการจะมีความสามารถในการปรับตัวอย่างไรต่อปัจจัยดังกล่าว
และจะส่งผลกระทบต่อยอดขายของกิจการว่ามีความสามารถชำระหนี้คืนธนาคารได้หรือไม่
อย่างไร
โดยในแผนธุรกิจ
ผู้ประกอบการควรจัดทำแบบจำลองเหตุการณ์ทางการเงิน (Scenario) ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด (Worst Case) ไว้ด้วย
เพื่อพิจารณาว่า หากกิจการต้องประสบเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดแล้ว
จะมียอดขายเป็นอย่างไร กิจการจะยังคงมีความสามารถในการชำระหนี้คืนธนาคารได้หรือไม่
----------------------------